กรมการแพทย์ เผย แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ฉบับปรับปรุงใหม่ อาการขนาดไหน ได้ยาอะไร ต้องกินกี่วัน

หมวดหมู่: OK MASS NEWS

#OKnewsonline กรมการแพทย์ เผย แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ฉบับปรับปรุงใหม่ อาการขนาดไหน ได้ยาอะไร ต้องกินกี่วัน
กรมการแพทย์ เผย แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 24 วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 โดยความร่วมมือของคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ และผู้แทนทีมแพทย์ที่ปฏิบัติหน้างาน ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ได้ทบทวนและปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ตามข้อมูลวิชาการในประเทศ และต่างประเทศ
ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (Probable case) ผู้ที่มีผลตรวจ ATK ต่อ SARS-CoV-2 ให้ผลบวก และรวมผู้ติดเชื้อยืนยันทั้งผู้ที่มี อาการและไม่แสดงอาการ แบ่งเป็นกลุ่มตามความรุนแรงของโรคและปัจจัยเสี่ยงได้เป็น 4 กรณี ดังนี้
1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี(Asymptomatic COVID-19)
-ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยแยกกักตัวที่บ้าน (Out-patient with self Isolation)
-ให้ดูแลรักษาตามอาการตามดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ให้ยาต้านไวรัส เช่น favipiravir เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง
-อาจพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรตามดุลยพินิจของแพทย์
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมส าคัญและภาพถ่ายรังสีปอดปกติ(Symptomatic COVID-19 without pneumonia and no risk factors for severe disease)
- อาจพิจารณาให้ favipiravir ควรเริ่มยาโดยเร็วที่สุด ตามดุลยพินิจของแพทย์
- หากตรวจพบเชื้อเมื่อผู้ป่วยมีอาการมาแล้วเกิน 5 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยอาจไม่ จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมส าคัญ หรือ ผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่ มีปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ oxygen ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่
1) อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป
2) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) (GOLD grade 2 ขึ้นไป) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ
3) โรคไตเรื้อรัง (CKD) (stage 3 ขึ้นไป)
4) โรคหัวใจและหลอดเลือด (NYHA functional class 2 ขึ้นไป รวมโรคหัวใจแต่ก าเนิด
5) โรคหลอดเลือดสมอง
6) เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
7) ภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กก. หรือ BMI ≥30 กก./ตร.ม.)
</div>
                </div>
                                <div class=

15 กรกฎาคม 2565

ผู้ชม 382 ครั้ง

Engine by shopup.com