กรมทรัพยากรธรณีนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ และอุทยานธรณีขอนแก่น “อุทยานธรณีก้าวไกล นำพาไทยก้าวหน้า ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน”

หมวดหมู่: OK MASS NEWS

 

กรมทรัพยากรธรณีนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ และอุทยานธรณีขอนแก่น

“อุทยานธรณีก้าวไกล นำพาไทยก้าวหน้า ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน”

             ในระหว่างวันที่  10 – 11 สิงหาคม 2563 กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมนำคณะสื่อมวลชนสัญจรลงพื้นที่ ณ จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดขอนแก่น โดยมี นายมนตรี เหลืองอิงคะสุต รองอธิบดีกรม ในฐานะโฆษกกรมทรัพยากรธรณี  เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อศึกษาอุทยานแหล่งธรณีวิทยาและ     ซากดึกดำบรรพ์เส้นทาง “อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ และอุทยานธรณีขอนแก่น” แคนยอนน้ำหนาว อุทยานแห่งชาติภูเวียง พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย ที่ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรก กลุ่มทอผ้าฝ้ายแห่งหุบเขาไดโนเสาร์ภูเวียง และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สวนอินทผาลัม บ้านสวนสัมฤทธิ์

                                                                                                                  

               นายมนตรี เหลืองอิงคะสุต รองอธิบดีกรม ในฐานะโฆษกกรมทรัพยากรธรณี  เปิดเผยว่า กรมทรัพยากรธรณีมีภารกิจเกี่ยวกับการสงวน การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการบริหารจัดการด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และธรณีพิบัติภัย สนับสนุนและผลักดันอุทยานธรณีท้องถิ่น สู่อุทยานธรณีระดับประเทศ ในการจัดกิจกรรมนำสื่อมวลชนลงพื้นที่ศึกษาแหล่งอนุรักษ์ทางธรณีวิทยาและซากดึกดำบรรพ์ครั้งนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่     และสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในเรื่องแหล่งธรณีวิทยา และอุทยานธรณีของไทย เพื่อพัฒนาแหล่งอนุรักษ์ทางธรณีวิทยา      ให้เป็นประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อคนไทยมากยิ่งขึ้น

                                                                                                                                     

               แคนยอนน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์   มหัศจรรย์แห่งเปลือกโลก มีลักษณะเป็นหน้าผาตั้งชันของชั้นหิน   มีรูปร่างเป็นหน้าผาโค้งรูปครึ่งวงกลม โครงสร้างชั้นหินวางเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบคล้ายขนมชั้น ในฤดูฝน          จะมีน้ำตกไหลลงจากหน้าผาเป็นช่วงๆ ดูสวยงามเป็นอย่างยิ่ง จากการศึกษาคุณลักษณะและคุณสมบัติของหินพบว่า     เป็นการแข็งตัวของตะกอนที่ตกสะสม ในทะเลสาบเมื่อประมาณ 200 ล้านปีก่อน หน้าผามีความสูงมากกว่า 200 เมตร เกิดจากการยกตัวของชั้นหิน การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก ทำให้ชั้นหินเกิดการโก่งงอและแตกหักเป็นแนวยาวตามทิศทางการโก่งตัว จนกระทั่งมีการพัฒนากลายเป็นหน้าผาในที่สุด หน้าผาดังกล่าว เกิดจากชั้นหินที่มีความทนทาน       ต่อการผุพังที่แตกต่างกัน โดยชั้นหินทรายและทรายแป้งมีความทนทานต่อการผุพังและกัดกร่อนได้ดีกว่าชั้นหินดินดาน      ที่แทรกสลับอยู่ ชั้นหินดินดานจะผุพังและถูกกัดกร่อนได้ง่ายกว่า จึงมีลักษณะโค้งเว้าเข้าไปในหน้าผา ชั้นหินทราย      หินทรายแป้งที่อยู่ด้านบน จึงเกิดการแตกหักและพังถล่มลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก เนื่องจากน้ำหนักของชั้นหินทราย                 และหินทรายแป้งไม่มีชั้นหินด้านล่างรองรับไว้ ทำให้หน้าผาดังกล่าวขยายกว้างออกไปเรื่อยๆ แคนยอนน้ำหนาวแห่งนี้มีลักษณะการเกิดโดยธรรมชาติ และมีความสวยงามคล้าย “แกรนด์แคนยอน” แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลกของสหรัฐอเมริกาที่ย่อส่วนลงมา                                                                                                                                 

            ผารอยตีนอาร์โคซอร์ ต้นตระกูลของไดโนเสาร์ รอยตีนอาร์โคซอร์ สัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์ มีจำนวนหลายร้อยรอย มีอายุประมาณ 229 - 204 ล้านปี อยู่ที่อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

 

            อุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น  ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2534    เป็นอุทยานแหงชาติลําดับที่ 71 ของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 325 ตารางกิโลเมตร หรือ 203,125 ไร่ คลอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเทือกเขาภูเวียง ถือเป็นแหล่งอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติที่สําคัญยิ่ง ในบริเวณเทือกเขาภูเวียงมีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ และยังเป็นแหลมหลุมขุดค้นไดโนเสาร์ที่สําคัญยิ่งของประเทศ ชมลานยูเรเนี่ยมและ        หลุมขุดค้นที่ 3 บริเวณที่พบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรกของประเทศไทย ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติ และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย ได้อย่างดียิ่ง

              ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย ที่รวบรวมจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์ และให้ความรู้ด้านธรณีวิทยาของประเทศไทย อาคารพิพิธภัณฑ์มีพื้นที่ประมาณ 5,500 ตารางเมตร บนเนื้อที่ 100 เปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ .ศ.2544 มีการจัดพื้นที่ดําเนินงานทั้งส่วนนิทรรศการและ          การจัดแสดง ส่วนสํารวจและวิจัย ส่วนอนุรักษ์ ส่วนคลังตัวอย่าง นอกจากนี้ยังมีห้องประชุมขนาด 140 ที่นั่ง มีการ      จัดกิจกรรมร่วมกับสถานศึกษาต่างๆ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยโดยตลอด มีเครือข่ายความร่วมมือด้าน         การสํารวจ ศึกษาและวิจัยกับระดับนานาชาติอีกด้วย

               กลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ “ผ้าฝ้ายธรณิน”  กลุ่มทอผ้าบ้านโคกม่วง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น หรือกลุ่มทอผ้าฝ้ายโคกภูตากาได้นําภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม ในเรื่องการทอผ้าฝ้ายมาสืบทอดก่อเกิดเป็นรายได้ ซึ่งในพื้นที่ภูเวียง-เวียงเก่า ในสมัยโบราณ สมาชิกในชุมชนมีการทอผ้าไว้ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มในครัวเรือนและต่อมาได้พัฒนาเป็นผ้าพื้นเมืองแห่งแผ่นดินไดโนเสาร์ มีกิจกรรมทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติสําหรับใช้เองและจําหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งเริ่มการผลิตตั้งแต่ปลูกฝ้ายในดินที่ผุกร่อนจากหินทรายยุคครีเทเชียส ผ่านกระบวนการผลิตเส้นฝ้ายจนสิ้นสุดกระบวนการทอออกมา เป็นผืนผ้าที่มีสีน้ําตาลอมชมพู แรงบันดาลใจเกิดจากการบอกเล่าของนักธรณีที่ทําหน้าที่ขุดซากฟอสซิลไดโนเสาร์ ได้สังเกตจากกางเกงและเสื้อผ้าที่ใส่ปฏิบัติงานขุดค้นซากฟอสซิลไดโนเสาร์ ปรากฏว่ามีสีแดงที่เกิดจากแร่เหล็ก  ในหินทราย ติดเสื้อผ้ากางเกง เมื่อนําไปซักก็ซักไม่ออก จึงได้นําตัวอย่างหินบริเวณหลุมขุดซากฟอสซิลไดโนเสาร์ มาให้ชาวบ้านทดลองย้อมกับผ้าฝ้าย   ที่ชาวบ้านทอ เพื่อพัฒนาให้เป็นผ้าที่ทรงคุณค่าทางจิตใจ สร้างจากทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น และเรื่องราวทุกอย่างเกิดจากบริเวณพื้นดินหุบเขาภูเวียง เมื่อนํา    ผ้าฝ้ายมาย้อมสีที่มาจากหิน จึงมีความสวยงามทรงคุณค่าทางภูมิปัญญาผสมผสานกับข้อมูลธรณีวิทยาจึงได้ชื่อว่า “ผ้าฝ้ายธรณิน” หรือ              “ผ้าแห่งแผ่นดิน” ผ้าที่เกิดขึ้นภายในดินแดนหุบเขาไดโนเสาร์ อันเป็นสายสัมพันธ์จากพื้นธรณี  สู่ผืนผ้าและวิถีชีวิตชุมชน  

           สวนอินทผาลัม บ้านสวนสัมฤทธิ์   “ธรณีวิทยากําเนิดความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณ” อินทผาลัมถือเป็นผลไม้มงคล มีความหมายถึง ผลไม้ของพระอินทร์ สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกอินทผาลัม ควรเป็นดินร่วน        ปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ําดี มีอากาศถ่ายเทสะดวก อินทผาลัมเป็นพืชที่ชอบดินและน้ําที่มีความเค็มหรือกร่อยนิดๆ เมื่อพิจารณาจากปัจจัยดังกล่าว จะพบว่าภาคอีสานซึ่งมีลักษณะทางธรณีวิทยาสวนใหญ่เป็นหินทราย    หินทรายแป้งและหินดินดาน เมื่อผุจะให้ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ําได้ดี มีความเหมาะสมในการปลูกอินทผาลัม และพื้นที่บริเวณภาคอีสานบางแห่งถูกรองรับด้วยชั้นเกลือในระดับลึก ทําให้สภาพดินและน้ำมีความกร่อยนิดๆ เหมาะสมในการเจริญเติบโตของอินทผาลัม แต่ปัญหาสําคัญอย่างหนึ่งของภาคอีสานคือการขาดแคลนน้ําในหน้าแล้ง ทําให้ได้ผลผลิตไม่เต็มที่ จากปัญหาการขาดแคลนน้ํา  แต่บริเวณสวนอินทผาลัมบ้านสวนสัมฤทธิ์ ซึ่งตั้งอยู่ในหุบเขาภูเวียง เป็นพื้นที่ซึ่งรองรับด้วยชั้นตะกอนดินร่วนปนทราย ที่ผุพังมาจากหินทรายสีแดงของกลุ่มหินโคราช และถูกพัดพามาทับถมกันบริเวณนี้ โดยมีทางน้ำสองสายโอบล้อม เป็นแหล่งต้นน้ำที่สมบูรณ์ ขนาบทางด้านข้างของสวน พื้นดินด้านล่างมีสภาพ  น้ําได้ดินที่มีความเค็ม หรือกร่อยของน้ํานิดๆ จากสภาพธรณีวิทยาและสภาพภูมิประเทศดังกล่าว ทําให้บริเวณสวนสัมฤทธิ์มีความเหมาะสมในการปลูกอินทผาลัม ให้มีผลผลิต ที่ดีและรสชาดที่หวานกลมกล่อม ถือเป็นความลงตัวทางธรณีวิทยา และภูมิประเทศที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของอินทผาลัมได้อย่างดียิ่ง

 

 

17 สิงหาคม 2563

ผู้ชม 1055 ครั้ง

Engine by shopup.com